สัมมนาวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง“ความยุติธรรมเชิงนิเวศน์:กรณีศึกษาท่าศาลา” 5 มีนาคม 2556 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ท่าเรือน้ำลึก เชฟรอน-ประมงชายฝั่งท่าศาลา:
ทางเลือกการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน???
หลายคนเชื่อว่า นิคมอุตสาหกรรม แท่นขุดเจาะน้ำมัน ท่าเทียบเรือน้ำลึก หรือ Mega Project ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและความสุขของสังคม แต่ชาวท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเคยถูกเลือกให้เป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกที่รองรับการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ของบริษัทเชฟรอน เชื่อมั่นว่าระบบเศรษฐกิจที่มาจากประมงพื้นบ้าน ซึ่งสร้างรายได้ให้ชุมชนนับ 100 ล้านบาทต่อปี มีลูกจ้างในสายพานธุรกิจสัตว์ทะเลกว่า 5,000 คน มีเส้นทางเศรษฐกิจตั้งแต่แพปลารายย่อยไปจนถึงธุรกิจสัตว์ทะเล เป็นระบบเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต นิเวศ และสภาพแวดล้อม มีการแบ่งปันกันใช้ทะเล ที่สำคัญพวกเขาภูมิใจในความเป็นชาวประมง เลี้ยงดูครอบครัวได้ เป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืน
การพัฒนาเศรษฐกิจแบบลงทุนขนาดใหญ่ หรือเศรษฐกิจชายฝั่งอย่างที่ท่าศาลา การพัฒนาเศรษฐกิจ แบบใด ที่จะสร้างความเป็นธรรม ยั่งยืน ให้ความสุขกับคนในชุมชนและสังคมไทย
5 มีนาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองและศูนย์ศึกษานโยบายเพื่อการพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิชีววิถี ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง “ความยุติธรรมเชิงนิเวศน์ : กรณีศึกษาท่าศาลา” เวลา 09.00-16.30 น. ห้อง 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลดรายละเอียด
ดาวน์โหลด Powerpoint https://www.thia.in.th/calendar/detail/03/1/2013
ภาพบรรยากาศภายในงาน