ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบระบบ กระบวนการ และหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) เพื่อการขับเคลื่อนสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญใหม่”
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบระบบ กระบวนการ และหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) เพื่อการขับเคลื่อนสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญใหม่” ระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2557 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ. วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ (มนส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ขอเชิญมาร่วมออกแบบระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบระบบ กระบวนการ และหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) เพื่อการขับเคลื่อนสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญใหม่” วันที่ 13-14 กันยายน 2557 เวลา 9.00-20.30 น.(13 ก.ย.) และ 9.00-16.30 น. (14 ก.ย.) ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ. วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ สำรองที่นั่ง หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 089-5238241 หรือ [email protected] (ธัญญาภรณ์)
13 กันยายน 2557
9.00-9.30 น. ลงทะเบียน
9.30-9.45 น. กล่าวต้อนรับและชี้แจงกระบวนการ โดย ดร. เดชรัต สุขกำเนิด
9.45-12.00 น. การวิเคราะห์กระบวนการนโยบายและสภาพแวดล้อมเชิงนโยบายของการนำ HIA ไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจของนโยบายสาธารณะ
– ใช้ HIA เมื่อไรและอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์
– การคัดกรอง HIA เชิงรุกเป็นอย่างไร
– ประโยชน์ของการใช้ HIA ในการตัดสินใจของสาธารณะ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. ทางเลือกเชิงนโยบายในการวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพ และการกำหนดขอบเขตในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
– ปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health)
– การวิเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายในแต่ละระดั
– หลักการและวิธีการในการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
16.00-17.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
17.00-18.00 น. รับประทานอาหารอาหารเย็น
18.00-20.30 น. คณะกรรมการและทีมงานในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
– การกำกับทิศทางในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
– การกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ
– ทีมประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
– การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
– การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ
14 กันยายน 2557
9.00-12.00 น. เทคนิคและวิธีการในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และวิธีการในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
– แผนที่ชุมชนและทรัพยากรชุมชน
– การวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
– การวิเคราะห์ความเปราะบางของผู้ได้รับผลกระทบ
– การวิเคราะห์บริการของระบบนิเวศวัฒนธรรม
– การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยา
13.00-16.00 น. การติดตามและประเมินผลการทำ HIA ในกระบวนการตัดสินใจจของสาธารณะ
– ระบบการติดตามใน EIA
– การเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ
– การติดตามผลกระทบที่มีต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ
– การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
– วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลการทำ HIA ในแต่ละระดับ
16.00-16.30 น. สรุปการประชุม โดย ดร. เดชรัต สุขกำเนิด
16.30 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ